ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ราชการส่วนกลาง (ประเทศไทย)

ราชการส่วนกลาง หมายถึง ราชการที่ดำเนินการและบริหารโดยหน่วยราชการในส่วนกลางของฝ่ายบริหาร เพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หมายความว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้

การบริหารประเทศตามที่กำหนดไว้ในในรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ รัฐบาลจึงได้กำหนดกลไกและโครงการการบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพ จึงได้กำหนดโครงการการแบ่งส่วนราชการตามกลุ่มภารกิจ เป้าหมายและอำนาจหน้าที่ โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น

เป็นส่วนราชการที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเฉพาะด้าน มีฐานะเทียบเท่า กรม แต่มิอาจจัดไว้ในสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง โดยมีดังต่อไปนี้

การบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย มีลำดับการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ มาโดยลำดับ ตามการเปลี่ยงแปลงเชิงโครงสร้างทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการปกครอง รวมทั้งจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยมีลำดับดังนี้

การบริหารราชการส่วนกลาง มีรูปแบบการบริหารที่ชัดเจนในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ซึ่งรับรูปแบบการปกครองจากขอม รวบรวมคนในสังกัดเรียกว่า กรม (เป็นคำภาษาขอมโบราณ) ขนาดกรมเล็กใหญ่ขึ้นอยู่กับหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยมีการจัดโครงการการบริหารงานดังนี้

หมายเหตุ: ความว่า มหาด แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ มหาดเล็ก ครั้งโบราณเขียนว่า มหาดเลก จึงหมายถึง ผู้เป็นใหญ่ในหมู่คนที่ถูกเกณฑ์ คือ พวกเลก และ มหาดไทย จึงหมายความว่า ผู้เป็นใหญ่ในหมู่คนเสรี

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดระเบียบการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของอาณาจักรอยุธยาในขณะนั้นที่ขยายดินแดนกว้างออกไป กล่าวคือ ได้รวมเอาดินแดนของอาณาจักรสุโขทัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร จึงจำเป็นต้องขยายอำนาจการปกครองออกไปให้ควบคุมดินแดนทั้งหมดไว้ได้ รวมทั้งเกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงของอาณาจักร จากการที่เมืองหน้าด่านมีกองกำลังป้องกันเมืองจึงมีอำนาจมาก ทำให้เกิดการชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง และจัดระเบียบการบริหารราชการดังนี้

ในกาลต่อมาเมื่องานราชการมีมากขึ้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ปรับปรุงการบริหารราชการส่วนดังนี้

เมื่อกรุงศรีอยุธยามีการติตต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศมากขึ้น พระมหากษัตริย์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับชาวต่างชาติมารับราชการ โดยเฉพาะ ทหารอาสาต่างชาติ คือ ทหารรับจ้างต่างชาติ หรือ ชาวต่างชาติ ที่เข้ามารับราชการทหาร ประกอบด้วย

จากการที่กรุงศรีอยุธยา มีการค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้นเป็นลำดับ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมพระคลังสินค้า ขึ้นตรงต่อ กรมคลัง มีหน้าในการค้าขายกับต่างประเทศโดยตรง มีพระยาศรีพิพัฒน์ เป็นหัวหน้า ครั้นรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง เจ้าท่า ขึ้นตรงต่อ กรมคลัง คือ บังคับการจอดทอดสมอเรือค้าขาย เก็บค่าธรรมเนียม เรือค้าขายที่เข้าและออกราชอาณาจักร

หลังจากที่ สมเด็จพระเพทราชา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับการปกครองใหม่ ให้สมุหพระกลาโหมและสมุหนายก ปกครองทั้งด้านทหารและพลเรือน โดยหัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหม โดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้น ๆ ส่งผลให้งานราชการกรมกลาโหม และกรมมหาดไทย มีหน้าที่ซ้อนทับกัน ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงลดอำนาจของสมุหพระกลาโหมเหลือเพียงที่ปรึกษาราชการ และให้หัวเมืองฝ่ายใต้ไปขึ้นกับกรมคลัง และเปลี่ยนกลับในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยแบ่งหัวเมืองฝ่ายชายทะเลวันออกให้ขึ้นกับกรมคลัง

ในสมัยประชาธิปไตยแล้วนั้น ได้มีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ตาม พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช....... (ฉบับที่.....) โดยในปัจจุบัน มีทั้งหมด ฉบับหลัก โดยมีเนื้อหาดังนี้

ยุคที่ 1 คือ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2476 โดยมีการจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม ดังนี้

1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 ได้แก้ไขโดยแยกกระทรวงเศรษฐการโดยเพิ่มทบวงเข้าไปดังนี้

2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ยุบกรมทหารรักษาวัง กรมมหาดเล็กหลวง และกรมวัง กระทรวงวัง

3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 3) แยกกระทรวงเศรษฐการเป็น 2 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตราธิการ และ กระทรวงเศรษฐการ โดยมีหน่วยงานภายในดังนี้

4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2478 ยุบกระทรวงวัง และตั้งเป็นสำนักงานพระราชวัง และ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์

5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2480 (ฉบับที่ 6) ยุบหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศให้เหลือเพียง สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี และ สำนักงานปลัดกระทรวง

6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2481 (ฉบับที่ 7) แก้ไขหน่วยงานภายในกระทรวงธรรมการโดยยกเลิกกรมศึกษาธิการ และเพิ่ม กรมวิชาการ และ กรมสามัญศึกษา เข้ามาเพิ่ม

7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 8) เปลี่ยน สำนักโฆษณาการ สำนักงานนายกรัฐมนตรี เป็นกรมโฆษณาการ สำนักงานนายกรัฐมนตรี

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2483 (ฉบับที่ 9) เพิ่มกรมประชาสงเคราะห์ ในสำนักนายกรัฐมนตรี

9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2483 (ฉบับที่ 10) เพิ่มกรมการอินโดจีน ในกระทรวงมหาดไทย

10. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2479 แก้ไขกรมทหารอากาศเป็นกองทัพอากาศ

11. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2481 เพิ่มกรมเสนาธิการทหาร กระทรวงกลาโหม โดยมีเสนาธิการทหารเป็นผู้บังคับบัญชา

1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2485 เพิ่มสำนักงานที่ปรึกษา กรมการเมืองตะวันออก กรมการเมืองตะวันตก กรมพิธีการ และกรมเศรษฐการ เข้าไปในกระทรวงการต่างประเทศ

2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2485 แยกกรมสาธารณสุขและกรมประชาสงเคราะห์ออกจากกระทรวงมหาดไทย และตั้งเป็นกระทรวงการสาธารณสุข พร้อมทั้งเพิ่มกรมการแพทย์ กรมมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวง และ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี

3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2485 ย้ายกรมศิลปากรจากกระทรวงศึกษาธิการไปยังสำนักงานนายกรัฐมนตรี และเพิ่มราชบัณฑิตยสถาน เข้าไปในสำนักงานนายกรัฐมนตรี

4. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 พุทธศักราช 2485 แยกกรมวิทยาศาสตร์และกรมอุตสาหกรรม แล้วจัดตั้งเป็นกระทรวงการอุตสาหกรรม พร้อมทั้งเพิ่มกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง และ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี เพิ่มกรมปศุสัตว์และสัตวพาหนะ ในกระทรวงเกษตราธิการ และ เพิ่มกระทรวงพาณิชย์ โดยให้มีกรมการสนเทศ กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ กรมควบคุมการค้า กรมทะเบียนการค้า กรมส่งเสริมองค์การค้า สำนักงานปลัดกระทรวง และ สำนักงานเลขานุการ

5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2485 ย้ายราชบัณฑิตยสถานออกจากสำนักนายกรัฐมนตรี ไปอยู่ภายใต้บัญชานายกรัฐมนตรีโดยตรง และจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ

6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2487 ย้ายกรมประชาสงเคราะห์จากกระทรวงสาธารณสุขไปยังกระทรวงมหาดไทย และจัดตั้งสภาวิจัยปรากฏการณ์แห่งชาติ

7. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484 พุทธศักราช 2487 เปลี่ยนชื่อกรมโยธาเทศบาลเป็นกรมโยธาธิการพร้อมทั้งย้ายจากกระทรวงมหาดไทยไปสำนักนายกรัฐมนตรี และเพิ่มกรมป้องกันภัยทางอากาศ ในกระทรวงมหาดไทย

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พุทธศักราช 2487 เปลี่ยนชื่อกรมโยธาธิการเป็นกรมโยธาเทศบาลพร้อมทั้งย้ายจากสำนักนายกรัฐมนตรีไปกระทรวงมหาดไทย

9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2489 ยุบกรมป้องกันภัยทางอากาศ กระทรวงมหาดไทย

10. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2490 เปลี่ยนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็น สำนักงานเลขาธิการรัฐสภา

12. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2493 ยุบกรมการเมืองตะวันออก กรมการเมืองตะวันตก และกรมพิธีการ พร้อมทั้งตั้งกรมสนธิสัญญา กรมการเมือง และกรมการสหประชาชาติ เข้าไปในกระทรวงการต่างประเทศแทน ยุบกรมส่งเสริมองค์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปลี่ยนสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์เป็นสำนักงานราชเลขาธิการ และจัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ

13. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2494 เพิ่มกรมประชาศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

15. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2494 เปลี่ยนสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา เป็น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

16. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2486 เพิ่มกรมสารวัตรทหาร กระทรวงกลาโหม โดยมีสารวัตรใหญ่ทหารเป็นผู้บังคับบัญชา

17. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2486 เพิ่มกรมเตรียมการทหาร กระทรวงกลาโหม โดยมีเจ้ากรมเตรียมการทหารเป็นผู้บังคับบัญชา

18. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2489 ยกเลิกกรมเตรียมการทหาร กระทรวงกลาโหม

1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496 เพิ่มการพลังงานแห่งชาติเป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม

2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2497 เพิ่มกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ

3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2499 ย้ายสำนักงานสภาป้องกันราชอาณาจักร สำนักคณะรัฐมนตรี ไปเป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นสภาป้องกันราชอาณาจักร และเพิ่มสภามหาวิทยาลัยแห่งชาติเป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม

4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2499 เพิ่มสำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติเป็นทบวงฐานะเทียบเท่ากรม

5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 ย้ายกรมการศาสนาและกรมศิลปากรจากกระทรวงวัฒนธรรมไปยังกระทรวงศึกษาธิการ และจึงยกเลิกกระทรวงวัฒนธรรม ,กรมประกันสังคม กระทรวงการคลัง ,กรมป้องกันสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ,กรมโรงงานโลหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ

6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2502 ยกเลิกกรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงเกษตร ,กรมมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ และกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข

7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2503 ยกเลิกกรมยุโรปและอเมริกา กรมสหประชาชาติ กรมเอเซียและแอฟริกา และสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และเพิ่มกรมการเมือง กรมเศรษฐกิจ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรมสารนิเทศ และกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2504 เพิ่มสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2505 เพิ่มกรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน และสำนักผังเมือง ในกระทรวงมหาดไทย

11. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2502 ยกเลิกสำนักคณะรัฐมนตรีแล้วตั้งสำนักนายกรัฐมนตรี แล้วตั้งสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี สำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ กรมประมวลราชการแผ่นดิน กรมตรวจราชการแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ พร้อมทั้งย้ายสภาป้องกันราชอาณาจักร การพลังงานแห่งชาติ และสำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติมาเป็นหน่วยงานภายใน และรวมถึงสภามหาวิทยาลัยแห่งชาติโดยใช้ชื่อ"สภาการศึกษาแห่งชาติ"แทน

12. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2502 เปลี่ยนสำนักงานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ เป็นสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ

13. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2502 เปลี่ยนสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ และเพิ่มจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี

14. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2502 เปลี่ยนสภาป้องกันราชอาณาจักร เป็น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

15. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2502 เปลี่ยนกรมประมวลราชการแผ่นดิน เป็น กรมประมวลข่าวกลาง

16. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2503 เพิ่มสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติเกี่ยวแก่ภาษาอากร และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าขาออก รวมทั้ง ยกเลิกกรมตรวจราชการแผ่นดิน

17. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2504 เพิ่มสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ

18. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2505 ย้ายกรมอุตุนิยมวิทยา กองทัพเรือ มาเป็น กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักนายกรัฐมนตรี

1. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506 ตั้งสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

2. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507 เพิ่มมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

3. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2508 ยุบสำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี และเพิ่มสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม สำนักงานเร่งรักพัฒนาชนบท และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

4. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2509 เพิ่มสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

5. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2511 เพิ่มมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

6. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2512 เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็น มหาวิทยาลัยมหิดล

7. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2514 เพิ่มมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในสำนักนายกรัฐมนตรี

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2506 จัดตั้งกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม

10. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 จัดตั้งกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตร

11. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2511 ยกเลิกสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แล้วจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาแทน

12. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2514 เพิ่มสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เป็นทบวงการเมืองฐานะเทียบเท่ากรม ในกระทรวงศึกษาธิการ

1. ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ยกเลิกสำนักงานคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิบัติราชการ แล้วจัดตั้งสำนักงานสภานโยบายแห่งชาติ แทน

2. ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 47 เปลี่ยนกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย เป็น สำนักงานอัยการสูงสุด (ทบวงการเมืองมีฐานะเทียบเท่ากรม) และเพิ่มสำนักงานนโยบายและแผนมหาดไทย และสำนักงานประกันสังคม เป็นทบวงการเมืองมีฐานะเทียบเท่ากรม ภายในกระทรวงมหาดไทย

1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 แยกกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศเป็น กรมยุโรป กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กรมเอเชียตะวันออก และกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 เพิ่มสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน แล้วยุบสำนักงานพลังงานแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน

3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535 เพิ่มกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535 ยุบสำนักนโยบายและแผนมหาดไทยและกรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ในสำนักนายกรัฐมนตรี กรมพัฒนาฝีมือแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม

5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2535 เปลี่ยนชื่อกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน เป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่วแวดล้อม ยุบสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ แล้วจัดตั้งกรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม แทน

6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2535 ตั้งสถาบันสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2536 ย้ายกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมประชาสงเคราะห์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม ออกจากกระทรวงมหาดไทย แล้วเพิ่มสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง และกรมการจัดหางานขึ้นรวมกันเป็นกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2536 จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสำนักนายกรัฐมนตรี

9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2537 เปลี่ยนสถาบันสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เป็น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

10. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2537 เปลี่ยนสำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เป็น กรมการผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

11. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2538 จัดตั้งสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ

12. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2538 เพิ่มมหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยามหาสารคาม ในทบวงมหาวิทยาลัย

13. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2539 เปลี่ยนชื่อสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เป็น มหาวิทยาลัยแม่โจ้

14. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2541 จัดตั้งกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

15. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2541 จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี

16. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2541 จัดตั้งสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นหน่วยงานราชการอิสระตามรัฐธรรมนูญ

17. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 จัดตั้งสำนักงานศาลปกครอง เป็นหน่วยงานราชการอิสระตามรัฐธรรมนูญ

18. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2542 จัดตั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักนายกรัฐมนตรี

19. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2542 ยกเลิกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี แล้วจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นหน่วยงานราชการอิสระตามรัฐธรรมนูญ

20. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 ย้ายสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไปเป็นหน่วยงานราชการอิสระตามรัฐธรรมนูญ พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

21. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2543 ยกเลิกสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม

22. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2536 จัดตั้งกรมราชองครักษ์ กระทรวงกลาโหม

1. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ตั้งกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 ยกเลิกกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์

3. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 ตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2552 ตั้งกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553 เปลี่ยนสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เป็น กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

6. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2553 เปลี่ยนสำนักงานอัยการสูงสุดไปเป็นหน่วยงานราชการอิสระตามรัฐธรรมนูญ

7. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2553 ตั้งกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

8. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2556 ตั้งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

9. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2558 ตั้งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

10. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2558 ตั้งสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

11. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2558 แก้ไขหน่วยงานในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยเปลี่ยนสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และสำนักงานส่งเสริมสัวสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ เป็น กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการผู้สูงอายุ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แทน

12. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พุทธศักราช 2551 เปลี่ยนชื่อกองบัญชาการทหารสูงสุด เป็น กองทัพไทย และเพิ่มกองบัญชาการกองทัพไทย ในส่วนราชการของกองทัพไทยระดับเดียวกับกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ

13. พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2556 ตั้งหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม

14. พระราชกฤษฎีการเปลี่ยนชื่อกรมการขนส่งทางอากาศ เป็นกรมการบินพลเรือน พุทธศักราช 2552 เปลี่ยนกรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม เป็น กรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406